การโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่ เพิร์ลฮาร์เบอร์ 7 ตุลาคม 1941

สงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 ถึง 1945) เป็นความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับหลายประเทศในโลกทั้งยุโรปและเอเชีย โดยแบ่งกลุ่มประเทศเป็น ฝ่ายสัมพันธมิตร และฝ่ายอักษะเป็นสงครามครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 40 ถึงมากกว่า 70 ล้านคน

สงครามโลกครั้งที่ 2 มีสาเหตุโดยทั่วไป คือ

1. ปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุตลง ทำให้เกิดการต่อสู้กันระหว่างลัทธิคอมมิวนิสต์ กับลัทธิฟาสซิสต์

2. ความไม่เป็นธรรมของสนธิสัญญาแวร์ซายส์และสัญญาสันติภาพ ซึ่งทำภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เยอรมันและชาติผู้แพ้สงคราม ถูกบังคับให้ลงนามในสัญญาที่ตนเสียเปรียบ เช่น การสูญเสียดินแดนอาณานิคม และจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาล จึงต้องการล้มเลิกเงื่อนไขข้อตกลงในสัญญา

3. การเติบโตของลัทธิทางทหาร หรือระบบเผด็จการ มีผู้นำหลายประเทศสร้างความเข้มแข็งทางทหาร และสะสมอาวุธร้ายแรงต่างๆ ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น เพื่อขยายอำนาจทางการเมือง ขยายดินแดน ขยายพื้นที่ทำกินและอาศัย โดยใช้กำลังเข้ายึดครองดินแดนต่างๆ และปกป้องผลประโยชน์ชาติตน

4. ความล้มเหลวขององค์การสันนิบาตชาติ การทำหน้าที่รักษาสันติภาพไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะ สันนิบาตชาติไม่มีกองกำลังของตนเอง และไม่มีอำนาจยับยั้งข้อพิพาทระหว่างประเทศได้

5. เป็นผลกระทบมาจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก (The Great Depression) ในปี ค.ศ. 1929-1931

สาเหตุปัจจุบัน

คือการที่เยอรมนีบุกโปแลนด์ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 จึงเกิดเหตุการณ์ลุกลามกลายเป็นสงครามโลกไปในที่สุด โดยมีการแบ่งฝ่ายออกเป็น 2 ฝ่ายคือ

1. ฝ่ายอักษะ (Axis Powers) มี เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น

2. ฝ่ายสัมพันธมิตร (Alied Powers) มี อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และโซเวียตรัสเซีย เป็นต้น

สงครามในยุโรปยุติลงเมื่อเยอรมนียอมแพ้ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945 ส่วนในเอเชียยุติลงเมื่อญี่ปุ่นถูกถล่มด้วยระเบิดปรมาณูและยอมแพ้อย่างทางการในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945

ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2

1. เกิดการเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจของโลก มหาอำนาจยุโรปตะวันตกลดความสำคัญลง เกิดประเทศมหาอำนาจใหม่คือ

1.1 สหรัฐอเมริกา ผู้นำฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตย

1.2 โซเวียตรัสเซีย ผู้นำฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์

2. การก่อตั้งองศ์การสหประชาชาติ

3. ประเทศที่ตกอาณาเขตนิคมมีการเรียกร้องของเอกราช